Last updated: 9 เม.ย 2567 | 4134 จำนวนผู้เข้าชม |
เหล็กรูปพรรณ
คือเหล็กที่มีรูปร่างแบบต่างๆ มีหลายชนิด เพื่อตอบสนองต่อการใช้งาน โดยมีจุดประสงค์หลัก คือการเพิ่มคุณสมบัติของหน้าตัด เพื่อรับแรงหรือต้านทานการเสียรูปขณะใช้งานได้ดีขึ้น ใช้เป็นเหล็กในโครงสร้างหลักหรือโครงสร้างอื่นๆ เช่นโครงหลังคาเหล็ก คานเหล็ก เสาเหล็ก สามารถแบ่งตามการผลิต
ได้ 2 แบบ คือ
1. เหล็กรูปพรรณรีดร้อน
2. เหล็กรูปพรรณรีดเย็น
กระบวนการผลิตเหล็กรีดร้อน
กระบวนการผลิตเหล็กรีดร้อนแสดงในรูปที่ 5.5 การผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศไทยจะเริ่มจากการหลอมเศษเหล็กด้วยเตาไฟฟ้า (Electric Arc Furnace) เพื่อผลิตน้ำเหล็กให้ได้ตามส่วนผสมทางเคมีที่ต้องการ จากนั้นน้ำเหล็กจะถูกทำให้แข็งตัวโดยผ่านขบวนการหล่อแบบต่อเนื่อง (Continuous casting)
เพื่อหล่อเป็นเหล็กแผ่นหนา (Slab) ซึ่งจะถูกตัดด้วยเครื่องตัด (Shearing machine) เพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสมก่อนที่จะผ่านเตาอบ (Slab reheating furnace) เพื่อให้ความร้อน (สำหรับบางโรงงานที่ 10 ไม่มีเตาไฟฟ้าสำหรับหลอมเศษเหล็ก จะนำเข้าเหล็กแผ่นหนาจากต่างประเทศเข้ามาเป็นวัตถุดิบ) โดย
อุณหภูมิที่ใช้อบ (Slab reheating temperature, SRT) อยู่ในช่วงประมาณ 1100-1250 ?C จากนั้นเหล็กแผ่นหนาที่ผ่านเตาออกมาจะผ่านการขจัดสนิม (Descaling) ด้วยน้ำที่พ่นมาที่ผิวเหล็กด้วยแรงดันสูง และผ่านสู่การรีดลดขนาดที่อุณหภูมิสูง (Hot rolling) โดยอุณหภูมิขณะที่เหล็กผ่านแท่นการรีดสุดท้าย (Finishing temperature, FT) โดยทั่วไปจะสูงกว่า 870 ?Cหลังจากผ่านแท่นรีดสุดท้าย เหล็กแผ่นจะถูกทำให้เย็นลง
โดยการผ่านน้ำหล่อเย็น (Cooling table) และเข้าสู่เครื่องม้วน (Coiler) ซึ่งโดยทั่วไปอุณหภูมิที่ใช้ม้วน (Coiling temperature, CT) จะอยู่ในช่วงประมาณ 550-710 C เหล็กแผ่นรีดร้อนที่ได้จะมีผิวสีเทาดำ หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Black coil หรืออาจนำไปผ่านการกัดกรดและเคลือบน้ำมัน จะเรียกว่า Pickled and Oiled (P&O)
หล็กแผ่นรีดร้อนสามารถนำไปใช้งานในลักษณะที่ไม่ต้องการคุณภาพผิวสูงนัก เช่น เช่น เหล็กสำหรับงานโครงสร้าง เช่น เหล็กรูปตัว C (C-channel) ขนาดเล็ก-ใหญ่ (Pipe and Tube) เช่น ท่อน้ำมัน ท่อประปาขนาดใหญ่ ถังแก๊สหุงต้มอุตสาหกรรมต่อเรือ ชิ้นส่วนยานยนต์ หรือใช้เป็นวัตถุดิบ